ผิวแห้ง ต้องจัดการเร่งด่วน พร้อมรู้สาเหตุ และวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง
การมีผิวพรรณที่สุขภาพดีย่อมช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น นี่เป็นความปรารถนาของสาว ๆ ทุกคนในการอยากสร้างผิวของตนเองให้ชุ่มชื้น อิ่มฟู ดูเนียนเด้งอยู่เสมอ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลาย ๆ คนเองมักพบเจอกับอาการ “ผิวแห้ง” เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้จึงอยากนำเสนอถึงสาเหตุ การแก้ไข และวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผิวของทุกคนคงไว้ซึ่งความสวยตามแบบฉบับของผู้หญิงที่ใฝ่ฝัน ใครกำลังเจอกับปัญหานี้อยู่ต้องรีบจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุด
ผิวแห้ง มีสาเหตุมาจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวออกมาน้อยกว่าปกติ ทำให้สภาพผิวขาดความมัน และไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้นาน ผิวหนังจึงมีอาการแห้งคัน หรือลอกเป็นขุยได้ วิธีการรักษาเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการผิวแห้ง
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน:
- ผิวแห้ง คือ อะไร?
- ประเภทของอาการผิวหนังแห้ง
- วิธีการรักษา ผิวแห้ง
- สาเหตุของอาการผิวหนังแห้ง
- การป้องกัน
ผิวแห้ง คือ อะไร?
ผิวแห้ง คือ ลักษณะของผิวที่ไม่มีความมันเกาะตัวอยู่บนชั้นผิว สังเกตได้จากความรู้สึกแห้งตึงผิวหลังล้างหน้า ซึ่งสาเหตุเกิดได้หลายปัจจัย มักสร้างปัญหาให้กับทุกคนได้อยู่เสมอ เนื่องจากสภาพผิวจะมีความแห้งกร้าน แตกลอกเป็นขุย หรือเป็นแผ่นออกมาชัดเจนจนสังเกตได้ และมักนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ความไม่เรียบเนียน สีผิวไม่สม่ำเสมอ หรือบางคนเมื่อผิวลอกมาก ๆ มักมีแนวโน้มเกิดอาการแสบ ระคายเคือง เมื่อเผชิญกับปัจจัยต่าง ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัว ด้วยเหตุนี้การดูแลผิวแห้งจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ
ประเภทของอาการผิวหนังแห้ง
- ผิวหนังแห้งจากการระคายเคือง มักเกิดในกรณีที่ผิวหนังไปสัมผัสกับสารเคมีบางอย่างจนทำให้เกิดความระคายเคือง แห้งลอกออกมา เช่น สารฟอกขาว, นิกเกิล
- ผิวหนังแห้งจากต่อมไขมันในร่างกายผลิตน้ำมันออกมาน้อยเกินไป จนทำให้ความชุ่มชื้นที่อยู่บนผิวไม่เพียงพอ จึงสังเกตเห็นเป็นผื่นแดง สะเก็ดขุย ๆ มักเกิดได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ
แบบไหนควรไปพบแพทย์
สำหรับคนที่มีปัญหาผิวแห้งมาก แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขอย่างถูกต้อง เพราะทางแพทย์มักมีวิธีรักษาด้วยการให้ยาทาภายนอกหรือยาทานเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวกลับคืนมาอีกครั้ง แต่สำหรับคนที่รู้สึกว่าผิวหนังของตนเองแห้งบ้างในบางครั้ง อาจไม่ถึงขั้นต้องพบแพทย์ผิวหนัง แต่ควรรู้วิธีดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามมากเกินไป
เภสัชกร บดินทร์ หลักทอง
เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณ จบการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉพาะทางสาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรมเครื่องสำอาง และวิชาเลือกสาขาจุลชีววิทยา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ/ผลงาน อดีตเภสัชกรให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ประจำร้านยา ประสบการณ์เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณ กว่า 20 ปี คำแนะนำ: ผิวแห้ง
ผิวแห้งเกิดจากชั้นไขมันในผิว หรือที่เรียกว่า lipid barrier ถูกทำลายไป จึงทำให้มีการสูญเสียความชุ่มชื่นออกจากผิวมากกว่าปกติ เกิดเป็นผิวแห้ง ตึง ลอกเป็นขุย หากไม่ดูแลจะส่งผลให้เกิดอาการทางผิวหนังอื่นๆ ตามมาได้เช่นผื่น คัน หรือการติดเชื้อทางผิวหนัง จึงควรรักษาสมดุลความชุ่มชื้น โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เติมเต็มชั้นไขมันในผิว โดยเน้นที่เซราไมด์ชนิดที่จำเป็น คือ 1,3 6-II นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่รุนแรง หรือการทำความสะอาดผิวด้วยน้ำที่อุณหภูมิสูงเกินไป หากต้องอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นประจำ ควรบำรุงผิวด้วยครีมหรือโลชั่นสม่ำเสมอ และดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว
วิธีการดูแลรักษา ผิวแห้ง
คนที่มีปัญหาผิวแห้ง เป็นขุย เกิดกับผิวพรรณของตนเอง แนะนำให้เริ่มต้นรักษาด้วยการดูแลจากภายในนั้นคือ อาหารที่ทานเข้าไป เน้นทานอาหารที่มีโอเมกา-3 เยอะ ๆ เนื่องจากสารอาหารชนิดนี้จะเพิ่มปริมาณชั้นน้ำมันในผิวให้หล่อเลี่ยงได้อย่างเพียงพอ อาหารยอดฮิตที่อุดมไปด้วยโอเมกา-3 เช่น ปลาแซลมอน, น้ำมันดอกคำฝอย, ปลาซาร์ดีน, ลูกวอลนัท รวมถึงควรทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง ๆ ด้วย เพราะนี่คือสารอาหารสำคัญในการเสริมสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนังให้กับร่างกาย เมื่อมีคอลลาเจนเพียงพอ ผิวหนังของทุกคนก็จะเกิดความชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน ดูอิ่มน้ำมากขึ้น ซึ่งวิตามินซีส่วนใหญ่จะอยู่ในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ปิดท้ายด้วยการดื่มน้ำสะอาดต่อวันให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 แก้ว จะทำให้ผิวหนังอวบอิ่ม แถมยังได้สุขภาพที่ดีอีกด้วย
สาเหตุของอาการผิวหนังแห้ง
คนที่มีปัญหาผิวแห้งกร้าน สาเหตุพื้นฐานหลัก ๆ จะมีด้วยกัน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในร่างกาย เกิดจากต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยงผิวไม่สามารถทำได้ตามปริมาณที่เหมาะสม ส่งผลให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นออกไปได้ง่าย ดูแห้งกร้าน แตกลอกออกเป็นขุยได้ง่าย ส่วนปัจจัยภายนอกมักเกิดจากผิวที่สัมผัสกับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลาหนึ่งจนทำให้ปราการผิวเสียหาย เกิดการระคายเคืองแห้งลอก สภาพอากาศที่แห้งหรือหนาวจัดดึงดูดเอาน้ำที่อยู่ในผิวของเราออกไปได้มาก รวมถึงคนที่มักมีพฤติกรรมอาบน้ำร้อน อาบน้ำอุ่นบ่อย ๆ ความร้อนจากน้ำจะทำให้รูขุมขนเปิด และทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้นมากเกินไปจนเป็นสาเหตุของอาการแห้ง ลอก นั่นเอง
การป้องกัน (การเลือกผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้น)
วิธีง่ายสุดของการป้องกันอาการผิวแห้งคัน หรือลอกออก คือ การเสริมสร้างปราการผิวให้แข็งแรง ลดการสูญเสียน้ำออกจากผิว และใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถคงความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนาน แม้ว่าในคนผิวแห้ง ต่อมผลิตไขมันจะผลิตน้ำมันออกมาได้น้อยกว่าคนปกติ แต่ผิวก็ยังไม่รู้สึกถึงความแห้งกร้านมากนัก ดังนั้นการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้อาการดังกล่าวหายไปได้จริง รวมถึงยังเป็นเทคนิคบำรุงผิวให้เนียนเรียบ สีผิวสม่ำเสมอด้วย
เซราวี ครีมบำรุงผิวหน้า และผิวกาย
ผลิตภัณฑ์เซราวี มอยสเจอร์ไรซิ่ง ครีมบำรุงผิวหน้า และผิวกาย คือตัวเลือกดี ๆ สำหรับคนมีปัญหาผิวหนังแห้งกร้าน ด้วยส่วนผสมหลายชนิดที่รวมกันเอาไว้จะช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้คืนกลับมาอีกครั้ง พร้อมทั้งฟื้นฟูผิวจากอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และยังเป็นเกราะป้องกันชั้นดีที่เป็นปราการไม่ให้ปัจจัยภายนอกเข้ามาทำร้ายผิวหนังได้ง่ายด้วย
คุณสมบัติ
- มีการนำเทคโนโลยี MVE อันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเซราวีเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ช่วยในการควบคุมและปล่อยสารบำรุงอย่างช้า ๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 24 ชม. ผิวจึงนุ่ม ชุ่มชื้นตลอดเวลา ไม่แห้งกร้าน
- ไฮยาลูรอนิค แอซิด จะเข้าไปเติมน้ำในผิวพรรณ สังเกตว่าผิวจะมีความอิ่มน้ำมากขึ้น
- เซราไมด์ 3 ชนิดที่สกัดจากพืช เสริมสร้างปราการผิวให้แข็งแรง ลดการสูญเสียน้ำออกจากผิว ป้องกันอาการผิวแดง แห้ง
- ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันและน้ำหอม เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย
สรุป
ผิวแห้ง คัน เป็นผื่น คือสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง จึงต้องเริ่มต้นดูแลตั้งแต่วันนี้ด้วยผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นที่คิดค้นและพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง นอกจากลดอาการดังกล่าวให้หายไปแล้ว ยังถือเป็นวิธีบำรุงผิวเพื่อให้เต่งตึง สวยอย่างมั่นใจอีกครั้ง
เอกสารอ้างอิง:
-
เอกสารอ้างอิง:
- Wikipedia. Xeroderma [ออนไลน์]. 2020, แหล่งที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Xeroderma [08 กุมภาพันธ์ 2021]
- Healthline. What Causes Dry Skin and How to Treat It [ออนไลน์]. 2019, แหล่งที่มา : https://www.healthline.com/health/dry-skin [07 กุมภาพันธ์ 2021]
- Mayo Clinic. Dry Skin [ออนไลน์]. 2019, แหล่งที่มา : https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-skin/symptoms-causes/syc-20353885 [06 กุมภาพันธ์ 2021]
- WebMD. Dry Skin [ออนไลน์]. 2021, แหล่งที่มา : https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/dry-skin [07 กุมภาพันธ์ 2021]